มรดกโลก

มรดกโลก
มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต

ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ[1][2] โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม

มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น


สถิติ
เมมฟิสและสุสานโบราณ ประเทศอียิปต์
กำแพงเมืองจีน ประเทศจีน
ทัชมาฮัล ประเทศอินเดีย
พระอจนะ วัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ประเทศไทย
ปราสาทหินนครวัด ประเทศกัมพูชา
พระราชวังชางด๊อกกุง ประเทศเกาหลีใต้
ปราสาทฮิเมจิ ประเทศญี่ปุ่น
เทพีเสรีภาพ สหรัฐอเมริกา
มงต์-แซงต์-มีแชล ประเทศฝรั่งเศส
อ่าวฮาลอง ประเทศเวียดนาม
นครเปตรา ประเทศจอร์แดนในปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด 911 แห่ง ใน 151 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และอีก 27 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป - อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้ - แคริบเบียน

หมายเหตุ มรดกโลกในประเทศตุรกีและรัสเซียนั้น นับรวมเข้ากับทวีปยุโรป
ตารางจำนวนของมรดกโลกแบ่งตามทวีป

ทวีป มรดกโลกทางธรรมชาติ มรดกโลกทางวัฒนธรรม มรดกโลกผสม มรดกโลกทั้งหมด
แอฟริกา 33 45 4 82
อาหรับ 4 64 2 70
เอเชีย-แปซิฟิก 52 143 9 204
ยุโรป และ อเมริกาเหนือ 59 385 10 454
ละตินอเมริกา และ แคริบเบียน 35 88 3 126
รวม 183 725 28 936

ลำดับของประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุด

ลำดับ ประเทศ ธรรมชาติ วัฒนธรรม ผสม รวม
1 อิตาลี 2 42 0 44
2 สเปน 3 36 2 41
3 จีน 8 28 4 40
4 ฝรั่งเศส 3 31 1 35
5 เยอรมนี 2 32 0 34
6 เม็กซิโก 4 27 0 31
7 สหราชอาณาจักร 4 23 1 28
8 อินเดีย 5 23 0 28
9 รัสเซีย 9 15 0 24
10 สหรัฐอเมริกา 12 8 1 21

[แก้] ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้

เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ [3] (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

[แก้] ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลกกระทั่งปี พ.ศ. 2548 มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 ข้อสำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 ข้อสำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก[4] ดังนี้

[แก้] หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม(i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
(ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
(v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
(vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
[แก้] หลักเกณฑ์ทางธรรมชาติ(vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
(viii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
(ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
(x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
[แก้] รายชื่อรายชื่อแหล่งมรดกโลกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
รายชื่อแหล่งมรดกโลกในรัฐอาหรับ
รายชื่อแหล่งมรดกโลกในทวีปยุโรป
รายชื่อแหล่งมรดกโลกในทวีปแอฟริกา
รายชื่อแหล่งมรดกโลกในทวีปอเมริกาเหนือและใต้
รายชื่อแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย (List of World Heritage Sites in danger)
[แก้] การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญคณะกรรมการมรดกโลกจะมีการประชุมร่วมกันหลายครั้งในแต่ละปี เพื่ออภิปรายถึงแผนการจัดการเกี่ยวกับแหล่งมรดกโลกที่ยังคงอยู่ และรับรายชื่อสถานที่ที่ประเทศต่างๆเสนอให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และจะมีการประชุมครั้งหนึ่งที่เรียกว่า การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่ได้รับการเสนอชื่อแห่งใดที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ

การประชุมสมัยสามัญประจำปีจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันจัดในเมืองสำคัญต่างๆจากทั่วโลก ซึ่งนอกจากครั้งที่จัดขึ้นที่กรุงปารีส อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์การยูเนสโกแล้ว จะมีเพียงประเทศที่สมาชิกของคณะกรรมการมรดกโลกเท่านั้นที่จะได้รับสิทธิในการจัดการประชุมครั้งต่อไป โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และรับรองได้ว่าสมาชิกภาพของประเทศนั้นๆจะไม่หมดวาระลงเสียก่อนที่จะได้จัดการประชุม

ครั้งที่ ปี (พ.ศ.) วันที่ สถานที่ ประเทศเจ้าภาพ
1 2520 27 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม ปารีส ฝรั่งเศส
2 2521 5 กันยายน - 8 กันยายน วอชิงตัน ดี. ซี. สหรัฐอเมริกา
3 2522 22 ตุลาคม - 26 ตุลาคม ไคโร และ ลักซอร์ อียิปต์
4 2523 1 กันยายน - 5 กันยายน ปารีส ฝรั่งเศส
5 2524 26 ตุลาคม - 30 ตุลาคม ซิดนีย์ ออสเตรเลีย
6 2525 13 ธันวาคม - 17 ธันวาคม ปารีส ฝรั่งเศส
7 2526 5 ธันวาคม - 9 ธันวาคม ฟลอเรนซ์ อิตาลี
8 2527 29 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน บัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา
9 2528 2 ธันวาคม - 6 ธันวาคม ปารีส ฝรั่งเศส
10 2529 24 พฤศจิกายน - 28 พฤศจิกายน ปารีส ฝรั่งเศส
11 2530 7 ธันวาคม - 11 ธันวาคม ปารีส ฝรั่งเศส
12 2531 5 ธันวาคม - 9 ธันวาคม บราซิเลีย บราซิล
13 2532 11 ธันวาคม - 15 ธันวาคม ปารีส ฝรั่งเศส
14 2533 7 ธันวาคม - 12 ธันวาคม แบนฟ์ แคนาดา
15 2534 9 ธันวาคม - 13 ธันวาคม คาร์เทจ ตูนิเซีย
16 2535 7 ธันวาคม - 14 ธันวาคม แซนตาเฟ สหรัฐอเมริกา
17 2536 6 ธันวาคม - 11 ธันวาคม การ์ตาเฮนา โคลอมเบีย
18 2537 12 ธันวาคม - 17 ธันวาคม ภูเก็ต ไทย
19 2538 4 ธันวาคม - 9 ธันวาคม เบอร์ลิน เยอรมนี
20 2539 2 ธันวาคม - 7 ธันวาคม เมรีดา เม็กซิโก
21 2540 1 ธันวาคม - 6 ธันวาคม เนเปิลส์ อิตาลี
22 2541 30 ธันวาคม - 5 ธันวาคม เกียวโต ญี่ปุ่น
23 2542 29 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม มาร์ราเกช โมร็อกโก
24 2543 27 ธันวาคม - 2 ธันวาคม แครนส ออสเตรเลีย
25 2544 11 ธันวาคม - 16 ธันวาคม เฮลซิงกิ ฟินแลนด์
26 2545 24 มิถุนายน - 29 มิถุนายน บูดาเปสต์ ฮังการี
27 2546 30 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม ปารีส ฝรั่งเศส
28 2547 28 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม ซูโจว จีน
29 2548 10 กรกฎาคม - 17 กรกฎาคม เดอร์บัน แอฟริกาใต้
30 2549 8 กรกฎาคม - 16 กรกฎาคม วิลนีอุส ลิทัวเนีย
31 2550 23 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม ไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์
32 2551 2 กรกฎาคม - 10 กรกฎาคม เมืองควิเบก แคนาดา
33 2552 22 มิถุนายน - 30 มิถุนายน เซบียา สเปน
34 2553 25 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม บราซิเลีย บราซิล
35 2554 19 มิถุนายน - 29 มิถุนายน ปารีส ฝรั่งเศส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น